บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

เลี้ยงลูกยังไงไม่ให้มีปมด้อย Feeling of Inferiority

รูปภาพ
เลี้ยงลูกยังไงไม่ให้มีปมด้อย Feeling of Inferiority ปมด้อย คือ สภาวะที่เกิดจากความคิดสะสมมาตั้งแต่เด็กจนถึงโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กจะเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยตั้งแต่อายุประมาณ 8 ขวบ และจะเริ่มหาวิธีแก้ไขปมด้อยของตนเองตั้งแต่อายุ 14 ปี หรือช่วงเริ่มเข้าวัยรุ่น ปมด้อยแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ  1. ปมด้อยทางร่างกาย เช่น เด็กที่มีความผิดปกติทางด้านร่างกาย พิการ เหตุที่เป็นผลมาจากความผิดปกติทางร่างกาย เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้ล้วนแล้วแต่จะเป็นปมติดตัวไปตลอดชีวิต และเมืื่อโตขึ้นพวกเขาเหล่านั้นก็จะหาวิธีเพื่อปรับปมด้อยนั้น ให้เข้ากับสภาพที่ตนเป็นอยู่ให้ได้ หรือบางคนใช้ปมด้อยนี้ ในการแสดงความสามารถต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 2. ปมด้อยทางจิตใจ หมายถึง ผู้มีความคิดว่า ทำไมเราไม่เป็นแบบนั้น แบบนี้เหมือนคนอื่น ซึ่งปมด้อยทางจิตใจเป็นปมที่น่ากลัวและอันตรายมากหากไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อโตขึ้นอาจะเป็นภาระของสังคม หรืออาจจะเป็นผู้ใหญ่ที่นำปมของคนเองนั้นมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว ในที่นี้คงจะเน้นหนักไปที่ปมด้อยทางจิตใจมากกว่าเพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ยากแก้การแก้ไข เพราะคนบางคนใช้ปมด้อยของตนเองเป็นภาระของสังคม 

Transfer of Training การถ่ายโอนการเรียนรู้

รูปภาพ
Transfer of Training การถ่ายโอนการเรียนรู้ ในบรรดาสรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ มนุษย์จัดได้ว่าเป็นสัตว์โลกชนิดเดียวที่มีการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ถึงแม้สัตว์หลายชนิดจะสามารถเรียนรู้ได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวไม่สามารถถ่ายทอดกันได้เช่นเดียวกับมนุษย์นักจิตวิทยาจึงเชื่อว่ามนุษย์จะมีการเรียนรู้ตั้งแต่เกิดต่อเนื่องไปจนกระทั่งตาย และผลจากการเรียนรู้ของมนุษย์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งหลาย (เติมศักดิ์ คทวณิช 2546) การถ่ายโยงของการฝึกอบรม หมายถึง ผลกระทบที่มีความรู้หรือความสามารถที่ได้มาในพื้นที่หนึ่งที่มีอยู่ในการแก้ปัญหาหรือการเข้าซื้อกิจการความรู้ในพื้นที่อื่น ๆ การถ่ายโยงของการฝึกอบรมจะขึ้นอยู่กับทฤษฎีของ การถ่ายโยงการเรียนรู้ ( Transfer of Learning) ทฤษฎีของ การถ่ายโยงการเรียนรู้ ( Transfer of Learning) ธอร์นไดค์ ( Thorndike) กล่าวถึง การถ่ายโยงการเรียนรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งนั้น สถานการณ์ทั้งสองจะต้องมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน (เนื้อหาวิธีการและจิตคติที่สัมพันธ์กันกับสถานการณ์เดิม) เกสตั

การเรียนรู้พฤติกรรมนิยม

รูปภาพ
การเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมประกอบด้วยทฤษฎีกลุ่มย่อยๆ 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ( Classical Conditioning) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ( Operant Conditioning) และทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Conditionism) รายละเอียดของแต่ละทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม มีดังต่อไปนี้ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ( Classical Conditioning Theory of Learning) ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก เป็นแนวคิดของ      พาฟลอฟ นักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย ที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดจากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้มักเป็นพฤติกรรม หรือการตอบสนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนอันมีพื้นฐานมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การเห็นมะม่วงแล้วเกิดมีการ หลั่งของน้ำลาย การทำงานของต่อมต่างๆ ในร่างกาย การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่างๆ พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเหล่านี้เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง หรือพฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ พาฟลอฟ เชื่อว่าการเรีย