เลี้ยงลูกยังไงไม่ให้มีปมด้อย Feeling of Inferiority


เลี้ยงลูกยังไงไม่ให้มีปมด้อย Feeling of Inferiority


ปมด้อย คือ สภาวะที่เกิดจากความคิดสะสมมาตั้งแต่เด็กจนถึงโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กจะเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยตั้งแต่อายุประมาณ 8 ขวบ และจะเริ่มหาวิธีแก้ไขปมด้อยของตนเองตั้งแต่อายุ 14 ปี หรือช่วงเริ่มเข้าวัยรุ่น ปมด้อยแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ 

1. ปมด้อยทางร่างกาย เช่น เด็กที่มีความผิดปกติทางด้านร่างกาย พิการ เหตุที่เป็นผลมาจากความผิดปกติทางร่างกาย เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้ล้วนแล้วแต่จะเป็นปมติดตัวไปตลอดชีวิต และเมืื่อโตขึ้นพวกเขาเหล่านั้นก็จะหาวิธีเพื่อปรับปมด้อยนั้น ให้เข้ากับสภาพที่ตนเป็นอยู่ให้ได้ หรือบางคนใช้ปมด้อยนี้ ในการแสดงความสามารถต่างๆ ได้เป็นอย่างดี


2. ปมด้อยทางจิตใจ หมายถึง ผู้มีความคิดว่า ทำไมเราไม่เป็นแบบนั้น แบบนี้เหมือนคนอื่น ซึ่งปมด้อยทางจิตใจเป็นปมที่น่ากลัวและอันตรายมากหากไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อโตขึ้นอาจะเป็นภาระของสังคม หรืออาจจะเป็นผู้ใหญ่ที่นำปมของคนเองนั้นมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว

ในที่นี้คงจะเน้นหนักไปที่ปมด้อยทางจิตใจมากกว่าเพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ยากแก้การแก้ไข เพราะคนบางคนใช้ปมด้อยของตนเองเป็นภาระของสังคม 



กรณีศึกษาสภาวะปมด้อยทางจิตใจ
ครอบครัวหนึ่งมีลูก 3 คน 
ลูกคนที่ 1 มักจะเป็นที่รักและเป็นความหวังของครอบครัวมากที่สุด และจะถูกการเอาใจมากที่สุด
ลูกคนที่ 2 มักจะถูกครอบครัวตามใจ และจะไม่เป็นที่เอาใจมากกว่าคนแรก
ลูกคนที่ 3 ครอบครัวมักจะถูกตามใจ และปล่อยให้เป็นไปตามสถานะ

ลูกคน 1 มักจะได้ในสิ่งที่ตนเองอยากได้เสมอครอบครัวก็จะพยายามทุกอย่างที่จะทำให้เป็นเสาหลักแทนครอบครัวให้ได้ บางคนอาจจะได้เรียนสูงถึงขั้นระดับปริญญาเอก หรือได้รับการนับหน้าถือตาของสังคมอยู่เสมอ ลูกคนนี้ เป็นที่รักและเป็นที่ภาคภูมิใจแก่ครอบครัวมาโดยตลอด

ลูกคนที่ 2 มักจะได้รับให้ตามใจในสิ่งที่อยากจะทำ ครอบครัวให้ความสำคัญไม่มากเท่าไหร่ แต่บางครอบครัวที่มีฐานะก็สามารถส่งลูกคนนี้เรียนได้สูงพอๆกับลูกคนแรกได้เหมือนกัน

ลูกคนที่ 3 คนนี้น่าสงสารที่สุด เพราะปมด้อยที่จะเน้นคือลูกคนที่ 3 อันเนื่องมาจากครอบครัวมักจะถูกตามใจ และปล่อยให้เป็นไปตามสถานะ ในที่นี้หมายถึง อยากจะทำอะไรก็ทำ อยากจะเรียนอะไรก็เรียน หรือไม่อยากเรียนก็ไม่เป็นไร ดังนั้นลูกคนนี้มักจะมีปมด้อยในเรื่องของความเอาใจใส่ของครอบครัว


ประเด็นถัดมาคือ ลูกคนที่ 3 เห็นพี่ทั้งสองคนประสบความสำเร็จมากมาย เป็นที่รักของครอบครัว จะหันกลับมามองตนเองว่า อ้าว!!! แล้วทำไมเราถึงไม่ได้รับความใส่ใจแบบพี่ทั้งสองคนแบบนั้นบ้าง ซึ่งจริงๆแล้วพ่อแม่อาจจะไม่รู้ตัว แต่เด็กรู้ตัวโดยสัญชาตญาณความสัมพันธ์ครอบครัว เมื่อโตขึ้น เพื่อที่จะหาสิ่งที่ขาดหายไป ลูกคนเล็กก็จะทำทุกวิถีทางเพื่อจะพิสูจน์ให้ครอบครัวเห็นว่า ฉันนี้แหละคือสิ่งที่ดีที่สุดไม่แพ้พีทั้งสองคนเลย เช่น เรียนสูงด้วยตนเองจนจบปริญญาเอก หรือต้องการความมีหน้ามีตา มีชื่อเสียงของสังคม ต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคมให้มากที่สุด และนิสัยบุคลิคท่าทางก็จะเป็นคนที่ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ หรือมีอุปสรรค์ยากเพียงใดก็จะต้องผ่านไปให้ได้ ไม่ชอบความล้มเหลวเป็นที่สุด

สรุปว่า ลูกคนที่ 3 มีปมด้อมทางด้านจิตใจมากที่สุด จะเห็นได้ว่าเขาพยายามทำทุกวิธีเพื่อที่จะให้ครอบครัวหันมาให้ความสนใจเขาบ้าง ทำให้พ่อแม่ภูมิใจในตัวเขาเหมือนที่ พ่อแม่ภูมิใจในพี่ชายทั้งสองคน



สุรศักดิ์ สีลูกวัด
ศษ.ม. การศึกษาเพื่อการพัฒนา (จิตวิทยาครูการศึกษาพิเศษ)
www.facebook.com/ZaaraaD





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีของแบนดูรา (Bandura) และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

Transfer of Training การถ่ายโอนการเรียนรู้

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg)