บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2017

26 ตุลาคม 2560 ความทรงจำที่สำคัญต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย

รูปภาพ
26 ตุลาคม 2560 ความทรงจำที่สำคัญต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย อีกหนึ่งวันที่ประชาชนชาวไทยไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ด้วยสัจจธรรมความเป็นจริงของโลกนี้ที่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นไปตามความจริงของทุกสิ่งบนโลกย่อมมีวันแตกสลายไปตามกาลเวลาดั่งที่องค์สมเด็จพระศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ทุกประการ และในวันนี้คนไทยและชาวโลกได้เห็นพระราชพิธีที่งดงาม ชาวโลก ได้เห็นแล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยิ่งใหญ่มากแค่ไหน พร้อมกับความจงรักภักดีต่อพระองค์ที่มากมายเหลือจะพรรณนา สิ่งที่ปรากฏออกไปแสดงให้เห็นว่าราชอาณาจักรไทยที่มีอายุเก่าแก่มาช้านานกว่า 800 ปี เป็นประเทศที่มีอารยะธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ถึงแม้ว่าประเทศไทยของเราจะเป็นประเทศที่เล็กๆไม่ได้ยิ่งใหญ่มาก แต่สิ่งต่างๆที่พวกเราเห็นในวันนี้ ชาวโลกได้ประจักษ์แก่สายตาแล้วว่าประเทศแห่งดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ชาติใดในโลก สิ่งต่างๆที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ท่านสอนไว้ให้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกว่าในช่วงชีวิตของพวกเขานั้นได้มีประมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่หาใครเปรียบเทียบมิได้อีกแล้วในยุค

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่สุดของศูนย์รวมจิตใจของคนไทย

รูปภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่สุดของศูนย์รวมจิตใจของคนไทย ในประเทศไทยเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศมาตลอดระยะเวลายาวนานกว่าเกือบ 800 ปึมาแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน แต่ละพระองค์ทรงปกครองประเทศมาด้วยความร่มเย็นเป็นสุขมาโดยตลอดทุกยุค ทุกรัชสมัย ถึงแม้ว่าในต่างประเทศจะมีแค่ชาติ และศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจเท่านั้น ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่ต่างก็เป็นสัญลักษณ์ของประเทศเท่านั้น แต่สำหรับคนไทยนั้นโชคดีกว่าที่มีพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ทุกประองค์ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนมาโดยตลอด  แต่สำหรับประเทศไทย พระมหากษัตริย์เป็นยิ่งกว่าพระราชาคือพ่อของแผ่นดิน เป็นยิ่งกว่าญาติผู้ใหญ่ที่ประชาชนต่างเคารพนับถือไว้สูงสุด  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ก็ทรงเป็นพระราชาผู้ปกครองด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทรงทำให้เห็นถึงความจริงใจที่มีต่อประชาชนของพระองค์ ทรงทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้พระชาชนของพระองค์พ้นจากความยากจน พ้นจากความยากลำบาก ทรงมิได้เพียงแค่สั่ง แต่ทรงทำให้ประชาชนได้ดูด้วยสองมือของพระองค์เอง ใครที่ทำ

Marketing Communication Mix มีอะไรบ้าง ตอนที่ 2

รูปภาพ
Marketing Communication Mix มีอะไรบ้าง ตอนที่ 2 มาต่อกันกับตอนที่ 2 นะครับ 2. การประชาสัมพันธ์ (Public relation)  เป็นการสื่อสารการตลาดโดยการแผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร ซึ่งเรียกว่า การประชาสัมพันธ์บริษัท หรือข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งเรียกว่าการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรักษาภาพลักษณ์ของบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ในสายตาของสาธารณะชน ถึงแม้ว่าการประชาสัมพันธ์จะไม่ก่อให้เกิดผลในรูปของยอดขายโดยตรงและวัดประสิทธิผลค่อนข้างยาก แต่สามารถใช้กับบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทได้ดี อีกทั้งยังใช้เพื่อสะท้อนไมตรีจิตของบริษัทได้อีกด้วย ข้อมูลการประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่ออกไปจะดูมีคุณค่าความเป็นข่าวเมื่อใช้สื่อที่คนให้ความเชื่อถือ (สิทธิ์ ธีรสรณ์ การสื่อสารการตลาด  2559) เพิ่มเติมโดยผู้เขียน การประชาสัมพันธ์อีกนัยหนึ่งคือ การสร้างความสำพันธ์กับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์นอกจากจะสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะชนแล้ว ยังต้องสร้างสิ่งที่ดีๆกับสื่อมวลชนอีกด้วย เพราะสื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการตลาด หากสื่อไม

ทฤษฎีของแบนดูรา (Bandura) และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

รูปภาพ
ทฤษฎีของแบนดูรา  ( Bandura) และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม แบนดูรา ได้ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ในสภาพธรรมชาติมากกว่าในห้องทดลอง โดยเน้นที่การเรียนรู้จากการลอกเลียนแบบและผลของพฤติกรรมในอดีตเนื่องจากแบนดูรามีแนวคิดว่าการเรียนรู้ของมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 ส่วนได้แก่ (1 ) องค์ประกอบด้านตัวบุคคลซึ่งมีทั้งความคิด ความเชื่อ และความคาดหวังของบุคคล (P) (2 ) องค์ประกอบด้านพฤติกรรม ( B ) (3 ) องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมหรือบุคคลรอบตัว ( E) ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่าง ( P) บุคคล ( B) พฤติกรรม และ ( E) สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ( Reciprocal interactions)                 พฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคคลมักเกิดจากกระบวนการภายในของตัวบุคคลเองและสภาพแวดล้อมหรือตัวแบบที่เขาจะเลือกเลียนแบบได้แก่             1. กระบวนการทางปัญญาของบุคคล (Cognitive Process)             แบนดูรา อธิบายว่ากระบวนการทางปัญญาในการเรียนรู้ของบุคคลจะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ                         1.1 บุค

การรับผิดชอบต่อสังคม (CSR: Corporate Social Responsibility) ในแบบที่เข้าใจง่ายๆ

รูปภาพ
การรับผิดชอบต่อสังคม ( CSR: Corporate Social Responsibility) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร คือ การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ธุรกิจเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุน คือกำไร และต้องการความมั่นคง ความก้าวหน้าหรือการเจริญเติบโต การที่ธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นไม่ใช่อยู่ที่ผลประโยชน์หรือกำไรขององค์กรเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงการคืนกำไรในสิ่งที่ดีงามสู่สังคมควบคู่ไปด้วย ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจจึงต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม มาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างให้องค์กรอยู่รอดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เมื่อกล่าวถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ( CSR: Corporate Social Responsibility)  หลายคนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจอาจคุ้นเคย แต่คนภายนอกอาจจะยังไม่เคยได้ยิน ซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสังคมโดยรวม  ภายใต้หลักจริยธรรม การกำกับดูแลที่ดี เพื่อนำไปสู่การด

Marketing Communication Mix มีอะไรบ้าง ตอนที่ 1

รูปภาพ
Marketing Communication Mix มีอะไรบ้าง ตอนที่ 1 Marketing Communication Mix หรือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารทางการตลาดเรียกรวมกันว่า ส่วนประสบทางการสื่อสารการตลาด หรือส่วนประสบการส่งเสริมการตลาด (Promotion Mix) ซึ่งแต่เดิมมีแค่ 4 ประเภท คือการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การขายโดยบุคคล การส่งเสริมการขาย แต่ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมและตลาดได้เปลี่ยนไป ทำให้เกิดการสื่อสารทางการตลาดประเภทอื่นๆเพิ่มเข้ามา เช่น การตลาดทางตรง การตลาดทางอินเตอร์เน็ต การตลาดออนไลน์ การตลาดทางเอสเอ็มเอส การตลาดทางโซเชียวมีเดีย  ซึ่งการตลาดในสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้บริโภค เช่น บนเสื้อเชิ้ด กัดสาด ในลิฟต์ บนรถไฟฟ้า ฯลฯ ดังนั้น ถ้าจะให้การสื่อสารเกิดประสิทธิผล เราต้องรู้จักเลือกใช้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดให้เหมาะสมซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้  1. การโฆษณา (Advertising) เป็นการสื่อสารการตลาดที่ไม่ใช้บุคคล แต่ใช้สื่อมวลชนในการสื่อสารไปยังคนจำนวนมากที่รับสารในเวลาเดียวกัน โดยที่ผู้โฆษณาต้องเสียเงินซื้อเวลาหรือพื้นที่ในการสื่อสารซึ่งต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก  การโฆษณาเป็นวิธีการสื่อสารทางการตลาดที่เป

จะรู้ได้ยังไงว่าลูกของเป็นเด็ก LD (Learning Disabilities) หรือไม่

รูปภาพ
จะรู้ได้ยังไงว่าลูกของเราเป็นเด็ก LD (Learning Disabilities) หรือไม่   เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือที่เราเรียกกันคือ เด็ก LD คือเด็กที่ีปัญหาด้านการพูดและภาษาเขียน และอาจจะมีความบกพร่องอย่างเดียวหรือหลายๆอย่างก็ได้ ความบกพร่องนี้เป็นปัญหาสำหรับเด็กในการฟัง คิด อ่าน เขียน สะกดคำ หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ แต่ที่ยากก็คือเด็ก LD มีลักษณะที่เหมือนกับเด็กปกติดี สติปัญญาที่ปกติ อาจจะมีปัญหาในเรื่องของสมาธิสั้นร่วมด้วย อยู่ไม่นิ่ง และความจำไม่ดี สำพรับพ่อแม่ที่มีลูกได้อายุประมาณ 8 - 10 ปี ให้สังเหตุลูกๆได้ดังต่อไปนี้ 1. บางคนมีปัญหาในการอ่านทั้งที่มีสายตาหรือประสาทตาปกติ แต่การแปลภาพในสมองไม่เหมือนคนทั่วไป ทำให้เห็นตัวหนังสือกลับหัวกลับหาง ลอยไป ลอยมา ไม่คงที่ บางครั้งเห็นๆ หยุดๆ มองเห็นตัวหนังสือหายไปเป็นบรรทัด บางครั้งเห็นตัวหนังสือแต่ไม่รู้ความหมาย 2. บางคนมีปัญหาการฟัง ทั้งที่การได้ยินปกติ แต่สมองไม่สามารถแยกแยะเสียงสูง- ต่ำ จึงมักเขียนสะกดผิด และไม่ทราบความหมายของคำ 3. บางคนมีปัญหาเรื่องทิศทาง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับภาษา ไม่รู้ว่าซ้ายหรือขวา กะระยะทางไม่ถูก ทำให้

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg)

รูปภาพ
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg) Kohlberg ( อ้างถึงใน สุรางค์ โคว้ตระกูล, 2556 ) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของเพียเจต์ แต่ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้ทำการวิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไปจากสหรัฐอเมริกา โคลเบิร์กได้คิดวิธีวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีระบบการให้คะแนนอย่างมีระเบียบ แบบแผน ผู้ที่จะใช้วิธีการให้คะแนนระดับพัฒนาการทางจริยธรรม จะต้องได้รับการอบรมเป็นพิเศษโดยสร้างสถานการณ์สมมติปัญหาทางจริยธรรมที่ผู้ตอบยากที่จะตัดสินใจได้ว่า “ ถูก ” “ ผิด ” “ ควรทำ ” หรือ “ ไม่ควรทำ ” อย่างเด็ดขาด เพราะขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง การตอบจะขึ้นกับวัยของผู้ตอบ เกี่ยวกับความเห็นใจในบทบาทของพฤติกรรมในเรื่องค่านิยม ความสำนึกในหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ความยุติธรรมหรือหลักการที่ตนยึด จากการวิเคราะห์คำตอบของผู้ตอบวัยต่างๆ โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ ( Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น ( Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น ดังนี้  ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อ