Marketing Communication Mix มีอะไรบ้าง ตอนที่ 2



Marketing Communication Mix มีอะไรบ้าง ตอนที่ 2

มาต่อกันกับตอนที่ 2 นะครับ

2. การประชาสัมพันธ์ (Public relation) เป็นการสื่อสารการตลาดโดยการแผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร ซึ่งเรียกว่า การประชาสัมพันธ์บริษัท หรือข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งเรียกว่าการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรักษาภาพลักษณ์ของบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ในสายตาของสาธารณะชน ถึงแม้ว่าการประชาสัมพันธ์จะไม่ก่อให้เกิดผลในรูปของยอดขายโดยตรงและวัดประสิทธิผลค่อนข้างยาก แต่สามารถใช้กับบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทได้ดี อีกทั้งยังใช้เพื่อสะท้อนไมตรีจิตของบริษัทได้อีกด้วย ข้อมูลการประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่ออกไปจะดูมีคุณค่าความเป็นข่าวเมื่อใช้สื่อที่คนให้ความเชื่อถือ (สิทธิ์ ธีรสรณ์ การสื่อสารการตลาด  2559)

เพิ่มเติมโดยผู้เขียน การประชาสัมพันธ์อีกนัยหนึ่งคือ การสร้างความสำพันธ์กับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์นอกจากจะสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะชนแล้ว ยังต้องสร้างสิ่งที่ดีๆกับสื่อมวลชนอีกด้วย เพราะสื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการตลาด หากสื่อไม่สื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์แล้ว อาจเกิดความเสียหาย เสียงบประมาณ และเสียเวลาในการทำประชาสัมพันธ์อีกด้วย 



3. การส่งเสริมการขาย (Sales promotion)  เป็นการสื่อสารทางการตลาดที่บริษัทใช้ในการเพิ่มคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์หรือเสนอสิ่งจูงใจแก่ผู้บริโภค หรือให้ผู้บริโภคตอบสนองหรือซื้อสินค้าทันที ตรงข้ามกับการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ที่จะมุ่งสร้างอิทธิพลต่อเจตคติและความคาดหวังของลูกค้าในระยะยาว

คำว่าการส่งเสริมการตลาด (Marketing promotion) เป็ฯองค์ประกอบหนึ่งของส่วนประสมทางการตลาดที่เกี่ยวของกับการสื่อสารกับลูกค้า ส่วนคำว่าการส่งเสริมการขาย หรือที่เรียกว่า Promotion นั้น เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งของการเสริมการตลาด (สิทธิ์ ธีรสรณ์ การสื่อสารการตลาด  2559)

เพิ่มเติมโดยผู้เขียน การส่งเสริมการขาย เรียกให้เข้าใจง่ายคือ ลด แลก แจก แถม โดยผ่านการกลยุทธ์แรงจูงใจเพื่อให้เกิดการซื้่อสินค้าหรือบริการนั้นๆ ทั้งนีั้เพื่อให้การส่งเสริการตลาดที่แน่นอน ควรศึกษา และวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจในการใช้กลยุทธ์ทางการส่งเสริมการตลาด และให้ง่ายต่อการทำการตลาดอีกด้วย


4. การขายโดยบุคคล (Personal Selling) การขายโดยบุคคล เป็นการสื่อสารทางการตลาดแบบบุคคลต่อบุคคลระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยที่ผู้ขายจะให้ข้อมูลแก่ผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าและพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อจะสังเกตว่าผู้ขายต้องการอะไรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามนั้นในทันที ถึงแม้ว่าการขายโดยบุคคลจะเป็นเครื่องมือทางการสื่อสารการตลาดที่สร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่บริษัทมากที่สุด แต่ก็ได้ผลที่สุดหากต้องการทำให้ลูกค้าชอบสินค้าของเรามากกว่าสินค้าของคู่แข่ง เชื่อว่าเป็นสินค้าที่ดี และเกิดการตัดสินใจซื้อในที่สุด จึงเหมาะกับสินค้าที่ใช้พนักงานขาย เช่น ประกันชีวิต เครื่องจักขนาดใหญ่ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

เพิ่มเติมโดยผู้เขียน การขายโดยบุคคลมีข้อดีอยู่ประการหนึ่งคือ บุคคลหรือพนักงานขายสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และพนักงานขายสามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการซื้อต่อพฤติกรรมของลูกค้า ดังนั้น การขายโดยบุคคลซึ่งส่วนใหญ่ในปัจจุบันส่วนใหญ่บริษัทมักไม่ค่อยได้ใช้กลยุทธ์นี้ อาจจะเป็นเพราะว่าต้องใช้งบประมาณมาก และหาพนักงานขายที่มีใจรักในการขายจริงๆ นอกนั้นยังไม่พอ พนักงานขายจำเป็นต้องมีใจการบริการด้วย เพื่อให้พนักงานขายเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้า และเกิดการซื้อในครั้งต่อๆไป (สิทธิ์ ธีรสรณ์ การสื่อสารการตลาด  2559)

โปรดติดตามต่อตอนที่ 3 ได้เร็วๆนี้ 

สุรศักดิ์ สีลูกวัด
https://www.facebook.com/ZaaraaD/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีของแบนดูรา (Bandura) และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

Transfer of Training การถ่ายโอนการเรียนรู้

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg)