หนึ่งในผลงานวิจัยแห่งชาติ 2560 ทำให้ผู้ปกครองวางใจ พบว่าการจัดอบรม สัมมนา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ของครูในโรงเรียน เป็นผลดีทำให้ครูเข้าใจเด็กพิเศษเพิ่มมากขึ้น




ในปัจจุบัน ครูอาจารย์ที่สอนอยู่ในโรงเรียนยังไม่มีความพร้อมหรือความเข้าใจต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษในด้านของคุณธรรมจริยธรรมเท่าที่ควร ทำให้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นหัวแรงหลักในการพัฒนาการศึกษาชาติต้องทำการบ้านอย่างหนักเพื่อให้ครูนั้นได้มีประสิทธิภาพสูงสุดในด้านคุณธรรมจริยธรรมของการสอนเด็กนักเรียนปกติ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

หนึ่งในผลงานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกให้จัดแสดงในกิจกรรม Thailand Research Symposium 2017 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาอย่างทั่วถึง ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 ของสุรศักดิ์ สีลูกวัด นักศึกษาปริญญาโท สาขาการศึกษาเพื่อการพัฒนา จิตวิทยาครูการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  กล่าวว่า ได้ทำการศึกษาวิจัยผลของพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนเรียนร่วม สำนักงานเขตสายไหม สังกัดกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด  4 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อศิษย์ พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อตนเอง พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่ออาชีพ และพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อสังคม พบว่า โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในทุกเขตได้รับนโยบายจาก สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ให้ครูในโรงเรียนเรียนร่วมได้มีโอกาสเข้าร่วมอมรม สัมมนา เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจต่อการจัดการเรียนร่วม ตลอดจนการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนเรียนร่วมที่มีต่อเด็กพิเศษ เพื่อให้ครูได้มีทัศนคติและพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างแท้จริง จึงทำให้พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนเรียนร่วม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.. 2542 มาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลการจัดอบรมสัมมนาเป็นผลดีต่อการสร้างคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนได้



สุรศักดิ์ สีลูกวัด ผู้วิจัยยังกล่าวต่ออีกกว่า ผลการวิจัยยังพบอีกกว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย หรือหญิง หรือแม้กระทั่งวุฒิการศึกษาที่แตกต่างกันนั้นไม่สำคัญ ทั้งเพศหญิงและชาย ต่างก็มีความเข้าใจ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนหน้าที่ความเป็นครู ต่อความเท่าเทียมกันระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติอีกด้วย สำหรับประสบการณ์การทำงานก็ไม่มีความแตกต่างกัน เพราะการทำงานของครูผู้สอนของแต่ละบุคคลย่อมได้รับการถ่ายทอดด้านคุณธรรมจริยธรรมจากรุ่นสู่รุ่นเสมอ

ดังนั้น เป็นผลดีที่สำหรับเด็กปกติ กับเด็กพิเศษ และโดยเฉพาะผู้ปกครอง ที่ครูอาจารย์ในโรงเรียน ถ้ามีการฝึกอบรมหรือสัมมนาในด้านของคุณธรรมจริยธรรมอยู่เป็นประจำก็อาจจะทำให้เป็นที่ไว้วางใจของผู้ปกครองได้อย่างแท้จริง แต่ทั้งนี้การอบรมที่ได้ผลนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของการจัดสัมมนาหรือการอบรมและทัศนคติความใส่ใจของครูที่มีต่อสัมมนาหรือการอบรมนั้นๆอีกด้วย ผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากจะจัดให้มีการฝึกอบรมในด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูแล้ว ยังจะต้องทำให้ครูมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆอย่างแท้จริง ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเกิดผลดีต่อทุกฝ่ายอย่างแน่นอน

สุรศักดิ์ สีลูกวัด
www.facebook.com/ZaaraaD/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีของแบนดูรา (Bandura) และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

Transfer of Training การถ่ายโอนการเรียนรู้

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg)