Marketing & Marketing Communication เหมือนหรือต่างกัน
Marketing
& Marketing Communication
การตลาด
เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนที่เริ่มตั้งแต่การค้นหาความต้องการของลูกค้า
เลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีลักษณะคล้ายๆกัน
สร้างสิ่งที่จะสนองความต้องการของลูกค้าและสถานที่ที่เหมาะสม
และแจ้งให้กลุ่มเป้าหมายทราบว่ามีสิ่งนั้นอยู่ ซึ่งส่วนประสบทางการตลาดมี 4 อย่าง หรือที่เราเรียกว่า
4Ps นั้นประกอบด้วย Product (ผลิตภัณฑ์
สินค้าหรือบริการ) Price (ราคา) Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย) และ Promotion (การส่งเสริมการขาย)
ผลิตภัณฑ์และราคาเป็นองค์ประกอบของส่วนประสบทางการตลาดที่อยู่กับตัวผลิตภัณฑ์
ส่วนช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดเกี่ยวข้องกับการส่งมอบ
อย่างแรกเป็นการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้า
อย่างหลังเกิดก่อนอย่างแรกเพราะเป็นการส่งสารไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้คนกลุ่มนี้ทราบเกี่ยวกับสิ่งที่บริษัทนำเสนอ
บางครั้งจึงเรียกว่าการสื่อสารการทางการตลาด (Marketing Communication)
การสื่อสารการตลาด
ประกอบด้วยคำว่าการสื่อสาร ซึ่งหายถึง
กระบวนการที่ส่งต่อความคิดและแบ่งปันความหมายระหว่างบุคคลหรือกับบุคคล และคำว่า
การตลาด ซึ่งหมายถึง
กิจกรรมการส่งมอบคุณค่าหรือแลกเปลี่ยนระหว่างธุรกิจหรือองค์กรกับลูกค้า
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน ก็จะหมายถึงในส่วนประสบทางการตลาดของตราผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ
ที่ช่วยให้กิจกรรมการแลกเปลี่ยนกิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปง่ายขึ้น
โดยผู้สื่อสารทางการตลาดจะมุ่งทำการตลาดให้แก่ตราผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้า
วางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ให้แตหตางจากลูกค้า วางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ให้แตหต่างจากคู่แข่งขัน
และบอกกล่าวให้ผู้รับสารเป้าหมายทราบความหายของตราผลิตภัตฑ์
ผู้เขียนได้กล่าวโดยสรุปว่า การตลาด
เน้นที่ผลลัพธ์ที่ได้จากสินค้า ความพึ่งพอใจของลูกค้า และกำไร
แต่การสื่อสารการตลาด เน้นที่ผลลัพธ์ทางการสื่อสาร ซึ่งทำให้เกิดการจดจำสินค้า
ในที่นี้จะกล่าวถึงเพิ่มเติมในส่วนของ 4Cs ซึ่งเข้ามาขยายทำให้การตลาดประสบความสำเร็จมายิ่งขึ้น
(สิทธิ์ ธีรสรณ์ การสื่อสารการตลาด 2559)
– C1 คือ Consumer ‘s Need ความต้องการของผู้บริโภค การที่เราจะทำหรือนำสินค้าอะไรมาขายสักตัวนึง
เราต้องคำนึงถึง ความต้องการของผู้บริโภคก่อนเป็นอันดับแรก ความทันสมัยนิยม
ผู้ผลิตจำเป็นต้องศึกษาถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
และติดตามกระแสของความนิยมของสังคมตลอดเวลา เพื่อให้สินค้าตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกใจลูกค้า
– C2 คือ Cost of Appreciation ความเหมาะสม หรือ
ความพึงพอใจ ถ้าจะเปรียบเทียบราคากับคุณภาพของสินค้า เท่ากับ สิ่งที่ได้รับของลูกค้า
นั้นก็คือความพึงพอใจนั้นเอง
การตั้งราคาจึงมีความจำเป็นทั้งในด้านการผลิตและการตัดสินใจซื้อของลูกค้า และควรคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าด้วย
หากสินค้ามีคุณภาพไม่เหมาะสมกับราคา
จะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือต่อแบรนด์และตัวสินค้าเอง
– C3 คือ Convenience to
Buy ความสะดวกในการซื้อ ในปัจจุบันโลกได้เข้าสู่สังคมดิจิตอล
การซื้อสินค้าเข้าสู่ระบบโลกออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าได้เกิดความสะดวกสบาย
และง่ายต่อการซื้อสินค้า ไม่จำเป็นต้องออกไปเดินซื้อตามร้านค้าทั่วไป
หรือตามห้ามสรรพสินค้า และก็มีผลเสียอยู่คือ
ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อนั้นต้องให้ความไว้วางใจต่อแบนรด์เป็นสำคัญมาก
เพราะหมายถึงคุณภาพของสินค้า แต่ถ้าหากจะขายของตามร้านค้าแบบดั่งเดิมก็อาจจะหาวิธีเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในวิธีต่างๆ
และเสริมในเรื่องของการใช้การส่งเสริมการตลาดเข้าไปช่วย
ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความพึ่งพอใจในการตัดสินใจซื้อ
– C4 คือ Communication การสื่อสาร การนำเสนอ
ทุกวันนี้การสื่อสารรวดเร็วกว่าสมัยก่อนมาก ในสมัยก่อนหากจะกล่าวถึงการสื่อสารก็คงไม่พ้นหนังสือพิมพ์
นิตยสาร โทรทัศน์ การตลาดทางตรง การประชาสัมพันธ์
แต่ในปัจบันการเข้าถึงสื่อได้ดีที่สุดคือโลกออนไลน์ การทำ VDO เพื่อแฟงไปกับการสื่อสารสินค้าเพื่อสร้างการจดจำ การเสนอผ่านทาง APP
มือถือ การโฆษณาผ่านทางโซเชี่ยวมีเดีย เป็นต้น
ซึ่งผู้ผลิตสามารถเลือกใช้ให้เข้ากับสินค้าของตนได้
และการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าก็มากกว่า ง่ายกว่า และไวกว่า
สุรศักดิ์ สีลูกวัด
https://www.facebook.com/ZaaraaD/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น