การตลาดคืออะไร และอะไรคือความหมายของการตลาดที่แท้จริง


คนส่วนใหญ่คิดว่าการตลาดเป็นเรื่องของการขายการโฆษณา จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันคนทั่วไปจะได้รับการสื่อสารด้วยโฆษณาทางโทรทัศน์ หรือในรูปแบบปัจจุบันคือการขายสินค้าในรูปแบบดิจิตอล แต่อย่างไรก็ตามการขายและการโฆษณาเป็นแค่เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของการตลาดเท่านั้น 

ในปัจจุบันต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การตลาดไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างยอดขายด้วยการบอกเล่าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วย ถ้านักการตลาดเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค พัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่นำเสนอคุณค่าที่ดีกว่า ตั้งราคาที่เหมาะสม จัดจำหน่ายโดยใช้ช่องทางที่ดี และส่งเสริมการตลาดอย่างมีประสิทธิผล สินค้าเหล่านั้นก็จะขายได้ง่าย การขายและการโฆษณาเป็นเพียงส่วนเล็กๆของส่วนประสมทางการตลาด (Marketing mix) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทำร่วมกัน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าและการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

ดังนั้น การตลาด คือ กระบวนทางทางสังคมและการบริหารโดยบุคคลและองค์กรที่ได้รับการตอบสนองความจำเป็นและความต้องการ โดยผ่านกระบวนการสร้างสรรค์และการแลกเปลี่ยนคุณค่ากับบุคคลอื่น ในบริบททางธุรกิจที่แคบลง การตลาดเกี่ยวข้องกับการสร้างกำไร การสร้างคุณค่าและความสำพันธ์กับลูกค้า ดังนั้น นิยามของการตลาดซึ่งหมายถึง กระบวนการที่บริษัทสร้างคุณค่าเพื่อลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้า เพื่อที่จะได้รับคุณค่าจากลูกค้ากลับมา (หลักการตลาด Marketing an Introduction Armstrong & Kotler 2009 แปลโดย นันทสารี สุขโต,เพ็ญสิน ชวนะคุรุ และคณะ 2558) 

ผู้เขียนกล่าวโดยสรุปในความหมายของการตลาด คือ การสร้างกระบวนการหรือการวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไร ผ่านเครื่องมือต่างๆทางการตลาด ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และคุณค่าของสินค้า ทั้งนี้ การตลาดจะดีได้ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ความต้องการของสังคม และความเข้าใจ DNA ของผลิตภัณฑ์ ความเอาใจใส่ต่อผู้บริโภค เพื่อให้มาต่อความไว้วางใจ การตลาดจึงจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาในทุกรูปแบบ ต้องทำการศึกษา วิจัย และพัฒนาในรูปแบบสังคมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา เพื่อให้สินค้าและบริการตรงกับสภาวการณ์ของปัจจุบันอยู่เสมอ จึงถือได้ว่าสามารถทำการตลาดได้อย่างสมบูรณ์

สุรศักดิ์ สีลูกวัด
www.facebook.com/ZaaraaD/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีของแบนดูรา (Bandura) และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

Transfer of Training การถ่ายโอนการเรียนรู้

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg)